พัฒนาเยาวสตรี ทำดีด้วยรัก

 

 

สมาคม ไว ดับยู ซี เอ กรุงเทพฯ
YOUNG  WOMEN'S CHRISTIAN ASSOCIATION OF BANGKOK

ฟังบรรรยายและชมการสาธิตในนิทรรศการ “Go Zero Waste ชีวิตใหม่ ไร้ขยะ” 11 กันยายน 2561 ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.
 

11 กันยายน 61 ข่าวสาร - กรุงเทพ
สมาคมฯส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมฟังบรรรยายและชมการสาธิตในนิทรรศการ “Go Zero Waste ชีวิตใหม่ ไร้ขยะ” 11 กันยายน 2561 ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.
เวลา 09.30 - 15.30 น. ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เปิดตัวนิทรรศการหมุนเวียน "Go Zero Waste ชีวิตใหม่ ไร้ขยะ" เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ สร้างแรงบันดาลใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมไร้ขยะ
"Go Zero Waste ชีวิตใหม่ ไร้ขยะ" การเข้าสู่สังคมที่ขยะเป็นศูนย์เป็นจริงได้หรือไม่กับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยปัจจุบัน
แนวคิด คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ และสิ่งที่ดูไม่มีมูลค่า นำไปทำให้เกิดมูลค่า
เปิดนิทรรศการโดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์
ดร.บรรยายว่า ประเทศไทยมีการรณรงค์มาเรื่อยๆ เช่น โครงการตาวิเศษ เป็นโครงการที่ลดการใช้ถุงพลาสติก แม้กระนั้น ประเทศไทยก็เป็นอันดับที่ 6 ของโลกที่ทิ้งขยะลงทะเล และกรุงเทพฯ ผลิตขยะ 1 ใน 5 ของประเทศ
ทาง สสส. ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อปัญญาเหล่านี้ ได้เข้าไปในชุมชน เรียน “ชุมชนสุขภาวะ” ให้มีกองทุนจัดการขยะเอชุมชน มีธนาคารขยะ สสส. ยังผลักดันในระดับชาติ คือ ทำแผนระยะ 20 ปี ให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
อาคาร สสส. มีการออกแบบอาคาร “สถาปัตยกรรมสีเขียว” 
หลังจากนั้น เข้าสู่การบรรยาย จากวิทยากร 3 ท่าน โดยมี คุณบอล ทายาท เดชเสถียร และคุณยอด พิศาล แสงจันทร์ พิธีกรจากรายการ "หนังพาไป" สองพิธีกรผู้มีประสบการณ์การจัดการขยะในบ้านด้วยตนเอง 
วิทยากรทั้ง 3 ท่านคือ
1.คุณครูปราณี หวาดเปีย คุณครูจากโรงเรียนรุ่งอรุณ ผู้เชี่ยวชาญการจัดการขยะในโรงเรียนที่ไม่หยุดอยู่แค่ภายในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังขยายผลผ่านการทำงานร่วมกันทั้งนักเรียน บุคลากรของโรงเรียน ไปจนถึงผู้ปกครองไปสู่ระดับชุมชน คุณครูทำงานนี้มา 14 ปีแล้ว
เริ่มจากสำรวจชนิดขยะ แยกได้ 4 ประเภท คือ 
1) เศษอาหาร นำไปให้คนเลี้ยงสัตว์ 2) ผัก, เปลือกไข่ นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ
3) ขยะรีไซเคิล แยกลงถังได้เลย 4) ขยะห้องน้ำ / ขยะอันตราย
เป้าหมาย ดูแลขยะในชุมชน แล้วส่งขยะไป ทุกคนเป็นคนสร้างขยะ ทุกคนต้องเป็นคนจัดการขยะ 
2.ผศ.ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (ศวพช.) มหาวิทยาลัยสยามผู้ก่อตั้งโครงการ "สวนสุขภาวะห้องสมุดกำแพง" เปลี่ยนพื้นที่กองขยะเขตภาษีเจริญ ให้เป็นสวนสาธารณะแห่งการเรียนรู้เพื่อชุมชน
3.ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ตัวแทนจากกลุ่ม Trash Hero ประเทศไทยกลุ่มอาสาสมัครคนรักษ์โลกที่รวมตัวกันเพื่อเก็บขยะบนชายหาด คืนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางชายทะเลให้สวยงามไปจนถึงปรับเปลี่ยนขยะกลับมาใช้ใหม่ให้เป็นของมีมูลค่า ทำประโยชน์แก่สังคม ขยะพลาสติกจะไม่นำไปเผา เพราะจะเกิด dioxin
นอกจากนี้ คุณบอลและคุณยอดยังสาธิตการแยกขยะเป็นประเภทจ่างๆ อีกด้วย เช่น ถุงพลาสติกถ้าเปียกน้ำ ยังสามารถใช้ได้ต่อ แก้วกาแฟ ให้แยกตัวฝา ตัวแก้ว และหลอด แล้วนำไปขายต่อได้ กระดาษทิชชู่ไม่ทิ้งรวมกับเศษอาหาร ถุงขนมให้ลงถังทั่วไป เพราะรีไซเคิลไม่ได้ 
ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
อันดับ 1 คือ Climate Change
อันดับ 2 คือ ขยะทะเล
การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในเวลานี้คือ
1. zero waste
2. เปลี่ยนต้นทางจนถึงปลายทาง
3. ทุกคนสร้างขยะ ทุกคนต้องจัดการขยะ
4. ลดการใช้ถุงพลาสติก